วัยเป้งนักเลงขาสั้นเป็นหนังหนึ่งที่มีเรื่องราวสะท้อนถึงสังคมในปัจจุบัน

เรื่องราวของภาพยนตร์นี้จะเป็นเรื่องราวที่เป็นปัญหากันมานมนานตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันเป็นเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงของคนในสังคม เป็นเรื่องเกี่ยวข้องของคนในครอบครัวจนมาสู้เด็กนักเรียนนักเลงวัยเป้งนี้เอง เรื่องราวในหนังมีอยู่ว่า มีนักเรียนมัธยมปลายอยู่ 2 สถานบัน ที่ทั้ง 2 สถาบันนี้ชอบมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เป็นบ่อยครั้งเพราะเป็นโรงเรียนจะอยู่ในละแวกใกล้ๆกัน เริ่มจากทั้งสองสถาบันนี้ เวลาเลิกเรียนจะมีเด็กบางกลุ่มไม่ยอมกับบ้านในทันทีโดยเด็กพวกนี้ผมจะตั้งชื่อโรงเรียนโดยเป็นอักษรย่อเพื่อเป็นเขาใจให้กับผู้อ่านแล้วกันนะครับ โดยเด็กนักเรียนกลุ่มแรกนี้จะมีตัวอักษรย่อของโรงเรียนว่า ช.น.น.ส่วนอีกโรงเรียนหนึ่งก็จะมีชื่อโรงเรียนอักษรย่อว่า ป.ป.ร. ซึ่งนักเรียน ป.ป.ร. ได้จับกลุ่มกันไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าต่างๆเหมือนกับโรงเรียน ช.น.น.เช่นกัน และนั้นก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดนี้ เมื่อทั้ง 2 สถาบันหรือทั้ง 2 โรงเรียนได้มาพบเจอหรือประสบตากัน ด้วยความคึกคะนอง ทั้งคู่ต่างส่งสายตาห้ามหั่นใส่กัน และก็ทำให้เกิดอารมณ์มากขึ้นจนถึงขีดสุดและทั้ง 2 โรงเรียนก็ตีกันตามประสาเด็กวัยรุ่นวันเกรียน และเมื่อทั้ง 2 โรงเรียนไล่ตีกันจนแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทางแล้ว เรื่องก็ไม่จบเพียงเท่านี้ วันรุ่งขึ้นเมื่อทางโรงเรียนทั้งสองสถาบันได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดก็ไม่นิ่งนอนใจ โดยได้เรียกตัวนักเรียนที่ไปมีเรื่องกันทั้งหมดมาว่ากล่าวตักเตือนและเรียนเชิญทางผู้ปกครองมารับทราบถึงวีรกรรมต่างๆของลูกหลานตัวเอง และโดนลงโทษตามกฎของโรงเรียนตามลำดับ แต่นั้นก็ไม่สามารถทำให้นักเรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้รู้สึกหรือสำนึกผิดแต่อย่างไร เพราะบางครัวก็มีปัญหาครอบครัวอยู่แล้วบ้าง โดยที่เด็กบางคนพ่อแม่ก็มีปัญหาแยกทางกัน บางครอบครัวนั้นไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูกหลาน และบางคนก็ไม่มีแม้กระทั่งพ่อและแม่หรือผู้ปกครองซะด้วยซ้ำ และเรื่องราวก็ไม่จบแต่เพียงเท่านี้เนื่องจากนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน ไม่ได้เกรงกลัวกฎระเบียบของโรงเรียนแม้แต่น้อยจึงทำให้เกิดการประทะกันทั้ง 2 โรงเรียนอยู่บ่อยครั้ง และแล้วก็ทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นขึ้นโรงพักกันเลยทีเดียว และเมื่อผู้ปกครองได้ไปประกันตัวออกมา เด็กทั้ง 2 สถาบันนี้ก็ยังไม่หยุดสร้างปัญหาแต่กับทำให้เรื่องเลวร้ายไปกว่าเดิม จนเด็กกลุ่มนี้ถึงขั้นถูกส่งตัวไปที่สถานพินิจ เพื่อดัดนิสัยและฝึกอบรมให้เป็นคนดีของสังคม เรื่องราวก็มาถึงตอนจบ เมื่อเด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้เข้าไปฝึกอบรมที่สถานพินิจก็สามารถดัดนิสัยและสันดานได้ จนทำให้ทั้งสองโรงเรียนนัดพบกันอีกครั้งเพื่อมาปรับความเข้าใจกันและเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นหลัง เรื่องนี้ได้ข้อคิดดีมากๆ เช่น เรื่องปัญหาของครอบครัวที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กวันเรียนไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และความคิดในแง่ที่ดีของตัวเราเอง เพียงแค่เรารู้จักถูกผิดดีเลวแล้วล่ะก็เรื่องทั้งหมดก็จะไม่เกิดขึ้น